Screen Shot 2562-11-14 at 14.06.31.png
Screen Shot 2562-11-14 at 14.06.31.png

Sajja Pittaya


SCHOOL HISTORY

EST. 1919

SCROLL DOWN

Sajja Pittaya


SCHOOL HISTORY

EST. 1919

ความเป็นมาของโรงเรียนสัจจพิทยา

Rev. Albert & Mr.s Jeanette Seigle

Rev. Albert & Mr.s Jeanette Seigle

ตึกซีเกิ้ล Seigle Hall Building

ตึกซีเกิ้ล Seigle Hall Building

การนมัสการและสอนพระคัมภีร์

การนมัสการและสอนพระคัมภีร์

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่  2  โรงเรียนจีนได้ปิดหมดทุกโรง  จึงได้มีโรงเรียนไทยแห่งหนึ่งมาใช้สถานที่ของโรงเรียน  ขณะนั้นได้มีลูกระเบิดตกใกล้ ๆ บริเวณโรงเรียนทำให้ไฟไหม้โรงเรียนตลอดจนตัวอาคาร  อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในโรงเรียนถูกทำลายหมด  เมื่อสงครามโลกครั้งที่  2  ยุติลง  ศาสนาจารย์และ  นาง เจ วาย ซีเกิล  ได้เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง  ในเดือนพฤษภาคม  พ.ศ. 2489  คริสตจักร (กวางตุ้ง) สาธร ได้เชิญให้ศาสนาจารย์ เอ จี ซีเกิล  กลับมาเป็นศาสนาจารย์คริสตจักรสาธร  และเป็นเจ้าของโรงเรียนฉุ่นจั้นซี้หลับเช่นเดิม  และขอให้ นาง เจ วาย ซีเกิล เป็นผู้จัดการโรงเรียน เนื่องจากเวลานั้นจะต้องปรับปรุงอาคารสถานที่และอุปกรณ์ของใช้ต่าง ๆ ในการเรียนอย่างมาก  แต่ด้วยความพยายามของท่านทั้งสองและจากสมาชิกคริสตจักรสาธร  จึงได้ทำการรื้ออาคารสถานที่ตึกเก่าเกือบหมดแล้วสร้างขึ้นใหม่โดยใช้เงิน  258,000  บาท  และปรับปรุงโรงรถเป็นอาคาร  2  ชั้น  และได้สร้างเรือนไม้ชั้นเดียวอีกหลังหนึ่งเป็นห้องพักครู  ในที่สุดโรงเรียนฉุ่นจั้นซีหลับ  จึงได้เปิดทำการสอนอีกครั้งหนึ่ง  ในวันที่  3  พฤษภาคม  พ.ศ. 2491  เป็นโรงเรียนสอนภาษาไทยและภาษาจีน  รับนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่  1  ถึง  ประถมปีที่  4  และเนื่องจากโรงเรียนยังไม่มีชื่อภาษาไทยมีแต่ภาษาจีน ( 存真學校 ) และภาษาอังกฤษ  (The Loyal School) ดังนั้นวันที่  24  กันยายน  พ.ศ. 2497  จึงได้ตั้งชื่อภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่าโรงเรียนสัจจศึกษา และได้เริ่มมีตราประจำโรงเรียนตั้งแต่นั้นมา  ต่อมาปี  พ.ศ. 2500  (ค.ศ. 1957)  จึงได้สร้างเรือนไม้  4  ห้องขึ้นอีกหลังหนึ่ง  โรงเรียนมีนักเรียนถึง  20  ห้องเรียน

ปี พ.ศ. 2461  (ค.ศ. 1918)  ได้มีนักธุรกิจชาวกวางตุ้งกลุ่มหนึ่งมีความประสงค์ที่จะให้โรงเรียนคริสเตียนสอนภาษาจีนกวางตุ้งสำหรับเด็กจีนในกรุงเทพฯ ขึ้น จึงได้ปรึกษาและขอความร่วมมือจากศาสนาจารย์อาร์ โอ แฟรงคลิ่น  (Rev. R.O. Franklin)  ซึ่งเป็นมิชชันนารี  และเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนในขณะนั้นและอาจารย์  เกรแฮม  ฟูลเลอร์  (Rev. Graham  Fuller)  ซึ่งเป็นมิชชันนารีที่ทำงานกับคนจีนในประเทศไทยในเวลานั้นอีกท่านหนึ่ง  ในที่สุดก็ได้ตกลงซื้อที่ดิน  และเปิดโรงเรียนจีนกวางตุ้งชายขึ้น  และได้กลายเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

                  ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ. 2462  (ค.ศ. 1919)  นักธุรกิจกลุ่มเดิมนี้ได้ตั้งกรรมการอำนวยการโรงเรียนขึ้นแล้วได้เปิดโรงเรียนจีนกวางตุ้งสำหรับนักเรียนหญิง  โดยเฉพาะชื่อโรงเรียนฉุ่นจั้นซี้หลับ มี  4  ห้อง  เรียนอยู่ในสถานที่ซึ่งเป็นบ้านของศาสนาจารย์เกรเฮม  ฟูลเลอร์  (Rev. Graham  Fuller)  ในเวลานั้น  ซึ่งสถานที่นี้เคยเป็นโรงพิมพ์แรกของดร.แดน  บิช  บรัดเลย์  (Dr. Dan  Beach  Bradley)  ซึ่งได้นำแท่นพิมพ์ภาษาไทยเข้ามาในประเทศไทย  สถานที่นี้ก็คือสถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสัจจพิทยาในปัจจุบัน    คือ  เลขที่   274  ถนนสาทรเหนือ   แขวงสีลม   เขตบางรัก  กรุงเทพฯ  10500    โดยมีศาสนาจารย์  เกรแฮม  ฟูลเลอร์  เป็นผู้จัดการ  และมี  Mrs. Hoh  Seung (Alice H. Schaefer)  เป็นครูใหญ่  ต่อมาในปี พ.ศ. 2464  (ค.ศ. 1921)  นายอัลเบิร์ต จี ซีเกิล (Albert G. Seigle) มารับตำแหน่งเป็นเจ้าของ  และนางเจ  วาย  ซีเกิล (Jeanette Y. Seigle) เป็นผู้จัดการโรงเรียนนี้

ห้องเรียนสมัยแรกๆ

ห้องเรียนสมัยแรกๆ

ทัศนศึกษา ไปด้วยกัน!

ทัศนศึกษา ไปด้วยกัน!

เนื่องจากในเวลานั้น  โรงเรียนที่ทำการสอนชั้นมัธยมยังมีไม่พอสำหรับความต้องการของนักเรียน  นักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรชั้นประถมศึกษาแล้วหาที่เรียนยาก  คริสตจักรสาธรจึงมีความเห็นว่าควรจะเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาภาษาไทยขึ้นอีกโรงเรียนเพราะโรงเรียนสัจจศึกษาเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีน  เปิดชั้นระดับมัธยมไม่ได้  จึงได้เปิดโรงเรียนมัธยมชายสอนหลักสูตรภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ  ชื่อ  โรงเรียนสัจจพิทยา  ขึ้นที่ด้านหลังของคริสตจักรสาธร  เมื่อวันที่  28  มีนาคม  พ.ศ. 2498  (ค.ศ. 1955)  โดยใช้ชั้นล่างของบ้านศิษยาภิบาลซึ่งเป็นห้องนมัสการเป็นห้องเรียน  และได้สร้างเรือนไม้ชั้นเดียวเป็นห้องเรียน  และห้องพักครู  นับเป็นโรงเรียนมัธยมภาษาไทยแห่งแรกที่ก่อตั้งโดยชาวจีน มี ผศ.บำเพ็ญ (ณ นคร) กฤษณกาญจน์ เป็นผู้จัดการ และนายสมพงษ์ ดวงเนตร เป็นครูใหญ่ ต่อมาในปี  พ.ศ. 2499  (ค.ศ. 1956)  ได้รับเงินจาก Board  of  Foreign  Missions  เป็นเงิน  25,000  เหรียญอเมริกา  (521,000  บาท)  จึงได้สร้างตึกใหม่ขึ้นอีกหลังหนึ่งมี  8  ห้องเรียน  ตึกใหม่นี้ก็คือ  ตึกซีเกิลฮอลล์  ในปัจจุบัน  และได้มีผู้บริจาคเงินภายในประเทศเพื่อซื้ออุปกรณ์การสอนและโต๊ะเก้าอี้เรียน  ในปี พ.ศ. 2501  (ค.ศ. 1958)  ได้รับนักเรียนหญิงเข้ามาเป็นนักเรียน  และได้เปลี่ยนจากโรงเรียนชาย  เป็นโรงเรียนสหศึกษา

ในช่วงที่อาจารย์ยุพา พันธุมโกมล เป็นผู้จัดการ และอาจารย์ศรีสุดา บูรณตรีเวทย์ เป็นครูใหญ่ โรงเรียนได้ขอขยายชั้นเตรียมอนุบาล สำหรับเด็กเล็ก 2 ขวบ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (รับนักเรียนอายุ 2-12 ปี) 

ตั้งแต่ไป ค.ศ.2009 เป็นต้นมา คณะกรรมการบริหารโรงเรียน และคณะธรรมกิจของคริสตจักรสาธรมีนโยบายยกระดับโรงเรียนสัจจพิทยาให้มีความทันสมัย มีคุณภาพมาตรฐานสากล โรงเรียนจึงมีการปรับปรุงพัฒนาในทุกๆ ด้าน แม้บางสิ่งที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ในสายตามนุษย์ เพราะสิ่งที่เราฝันนั้นเกินกว่ากำลังที่เรามีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกำลังคนและกำลังทรัพย์ แต่ไม่มีสิ่งใดเป็นไปไม่ได้สำหรับพระเจ้าของเรา พระองค์ทรงประทานอย่างเพียงพอและทันเวลาเสมอ

ต่อมา ในปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ.2521) โรงเรียนสัจจพิทยาซึ่งเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา โดย ผป.วิบูลย์ เชาว์ชูเวชช เป็นผู้จัดการ และอาจารย์สมพร จันทน์มุข เป็นครูใหญ่ ได้ทำการขยายการรับนักเรียนอนุบาลตั้งแต่อายุ 3 - 6.5 ปี ทำให้โรงเรียนสัจจพิทยาเปิดสอนในระดับอนุบาลปีที่ 1-2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ส่วนนักเรียน ป.1-4 เรียนที่โรงเรียนสัจจศึกษา)

เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ผู้คนในยุคนี้ไม่นิยมเรียนโรงเรียนจีน  ปี ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528)  โรงเรียนสัจจพิทยาจึงทำการขออนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเปิดชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1-4  และในปี ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) ได้รวมครูและนักเรียนของโรงเรียนสัจจศึกษามาเข้ากับโรงเรียนสัจจพิทยา และในปี ค.ศ.1992 (1 พฤษภาคม พ.ศ.2535) ได้ยุบชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แต่คงเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ในปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ.2555) ได้มีการระดมทุนเพื่อปรับปรุงและติดเครื่องปรับอากาศในทุกห้องเรียน ต่อมาในปี 2013 (พ.ศ.2556) โรงเรียนได้พัฒนาหลักสูตร 3 ภาษา (Trilingual Program) ให้นักเรียนทุกชั้นเรียน ตั้งแต่อนุบาล ได้เรียนภาษาอังกฤษ และภาษาจีน กับครูเจ้าของภาษา รวมทั้งเสริมคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา มีการสอบวัดระดับภาษาจีนมาตรฐานสากล 中小学生汉语水平考试 (YCT: Youth Chinese Test) และ 国际汉语水平考试(HSK: Hanyu Shuiping Kaoshi)

ในปี ค.ศ.2015 (พ.ศ.2558) โรงเรียนและคริสตจักรได้ดำเนินการก่อสร้างหลังคาสนามบาสเก็ตบอลเพื่อให้นักเรียนและสมาชิกคริสตจักรสามารถใช้สนามทำกิจกรรมต่างๆ ได้แม้ในช่วงที่ฝนตกหรือแดดร้อนมาก

ปี ค.ศ. 2016 ทำการปรับปรุงรั้วหน้าโรงเรียนฝั่งถนนสาทร ทำป้ายคริสตจักรและโรงเรียนบริเวณประตูทางเข้าโรงเรียน และเพื่อให้การใช้พื้นที่ระหว่างโรงเรียนกับคริสตจักรเป็นสัดส่วนมากขึ้น จึงได้ทำการย้ายห้องปฏิบัติการของโรงเรียน ได้แก่ ห้อง Lab วิทยาศาสตร์ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องนาฏศิลป์ และศูนย์ภาษา (Language Center) จากอาคาร 6 ชั้น (สัจจศึกษา) มาที่ชั้น 3 และ 4 ของอาคารซีเกิ้ล 2  และย้ายห้องพักของคณาจารย์ไปที่ชั้น 5 ของอาคาร 6 ชั้น นอกจากนี้ใน ปี 2016 (พ.ศ.2559) โรงเรียนได้ทำการเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนระดับอนุบาล และระดับประถมศึกษา เป็นสีฟ้า ขาว และเทา เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของโรงเรียน

ต่อมาในปี ค.ศ.2017 (พ.ศ.2560) โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเข้มข้น (Extra English Program) ให้เป็นทางเลือก ควบคู่กับ หลักสูตรสามัญ ในระดับอนุบาลปีที่ 1-3 โดยเพิ่มชั่วโมงการเรียนภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติ เน้นการสอน Phonics, Vocabulary, Conversation และ Reading ต่อมาในปี 2018 โรงเรียนได้ใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษเข้มข้น (Extra English Program) ในระดับอนุบาลปีที่ 1-3 และประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกห้องเรียน โดยยกเลิกหลักสูตรสามัญของเดิม นอกจากนี้ยังทำการปรับปรุงห้องเรียนทุกห้องให้พร้อมเป็น  Smart Classroom ติดตั้งสื่ออุปกรณ์สารสนเทศสำหรับการเรียนการสอน

ปี ค.ศ. 2563 โรงเรียนพัฒนาสู่หลักสูตรตามแนวคิดฐานสมรรถนะ พัฒนาการเรียนการสอน STEM & ROBOTICS ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  ฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ พัฒนาสู่การสร้างนวัตกรรมต่อไป